วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

บทอาขยาน

  1. มนัสการมาตาปิติคุณ

              ข้าขอนพชนกคุณ                       ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน                                           ผดุงจวบเจริญวัย
               ฟูมฟักทนุถนอม                          บ บำราศนิราไกล
แสนอยากเท่าไรๆ                                       บ คิดอยากรำบากกาย
               ตรากทนระคนทุกข์                      ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย                                     จนได้รอดเป็นกายา
               เปรียบหนักชนกคุณ                     ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา                                        ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
               เหลือที่จะแทนทด                        จะสนองคุณานันต์
แท้บูชไนยอัน                                             อุดมเลิศประเสริฐคุณ
                                   

       2. นมัสการอาจาริยคุณ


                    อนึ่งข้าคำนับน้อม                             ต่อพระครูผู้การุณ

      โอบเอื้อและเจือจุน                                          อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์

                    ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ                       ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน

     ชี้แจงและแบ่งปัน                                            ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน

                    จิตมากด้วยเมตตา                           และกรุณา บ เอนเอียง

     เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์                              ให้ฉลาดและแหลมคม

                    ขจัดเขลาบรรเทาโม-                        หะจิตมืดที่งุนงม

     กังขา ณ อารมณ์                                            ก็สว่างกระจ่างใจ

                    คุณส่วนนี้ควรนับ                              ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร

     ควรนึกและตรึกใน                                           จิตน้อมนิยมชม

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/316882
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/316882

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘
มหาชาติหรือมหาเวศสันดรชาดก
ความเป็นมา
  พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมี

นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และร้อยแก้ว รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับ

มงคลสูตรคำฉันท์

บทที่๗ มงคลสูตรคำฉันท์



    พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาเกี่ยวกับมงคลสูงสุด ไว้ ๓๘ ประการ  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทประพันธ์ร้อยกรองประเภทคำฉันท์  มีลักษณะเด่นทางวรรณศิลป์ ใช้ถ้อยคำภาษาง่ายๆ แม้จะมีศัพท์บาลีอยู่บ้าง ก่อนนอนคืนนี้น้อมสิ่งดีใส่กมล  สวดสูตรมงคลไม่อับจนในชีวา ู้ทรงพระราชนิพนธ์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ.2466 ฉันทลักษณ์  แต่งเป็นคำฉันท์ คำฉันท์ ประกอบด้วย กาพย์ฉบังและอินทร
วิเชียรฉันท์ในเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ จะแทรกคาถาบาลี

ทุกข์ของชาวบ้านในบทกวี

    หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ความเป็นมา
             บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติผู้แต่ง

หัวใจชายหนุ่ม

บทที่๕
เรื่องหัวใจชายหนุ่ม

        หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์  ดุสิตสมิตเมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน

นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนรินทร์คำโคลง
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
ความเป็นมา
      นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ

      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า “นิราศ” หมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ

นิทานเวตาล เรื่องที่ 10

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
เรื่อง นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)
ความเป็นมา
                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461

วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

คำนมัสการคุณานุคุณ

http://thn25137thai.blogspot.com/2017/07/blog-post_5.html

บทที่1 คำนมัสการคุณานุคุณ

          คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

การวิจักษ์วรรณคดี

การวิจักษ์วรรณคดี
วรรณคดีเป็นหนังสือซึ่งแต่งดี  มีคุณค่าด้านเนื้อหาสาระ และคุณค่าทางวรรณศิลป์ การที่จะนิยมหรือยอมรับว่า หนังสือเรื่องใดแต่งดีหรือมีคุณค่า ผู้อ่านต้องสนใจใคร่รู้และควรอ่านอย่างไตร่ตรองให้ถ่องแท้ เพื่อจะได้เข้าใจในเรื่องราวและได้รับอรรถรสของบทประพันธ์ โดยผู้อ่านอาจจะพิจารณาว่า หนังสือเล่มนั้นมีเรื่องราวและเนื้อหาสาระอย่างไร มีคุณค่าและความงามในด้านใด การอ่านในลักษณะนี้เรียกว่า “การอ่านวิจักษ์” ซึ่งเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ การวิจารณ์ และการประเมินคุณค่าของวรรณคดี

การวิจักษ์และวิจารณ์วรรณคดี

วรรณคดี หมายถึง หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี
วิจักษณ์ หมายถึง ที่เห็นแจ้ง ที่เห็นแจ้ง ฉลาด มีสติปัญญา เชี่ยวชาญ ชำนาญ
การวิจักษ์วรรณคดี จึงหมายถึง การอ่านวรรณคดีโดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง กลั่นกรอง แยกแยะ และแสวงหาเหตุผล ประเมินคุณค่าของวรรณคดีได้อย่างมีเหตุผล และพิจารณาได้ว่า หนังสือแต่ละเรื่องแต่งดีแต่งด้อยอย่างไร ใช้ถ้อยคำและสำนวนภาษาได้ไพเราะหรือลึกซึ้งเพียงใด ให้คุณค่า ความรู้ ข้อคิด และคติสอนใจ หรือถ่ายทอดให้เห็นสภาพชีวิต ความคิด ความเชื่อของคนในสังคมอย่างไร