วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

บทอาขยาน

  1. มนัสการมาตาปิติคุณ

              ข้าขอนพชนกคุณ                       ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน                                           ผดุงจวบเจริญวัย
               ฟูมฟักทนุถนอม                          บ บำราศนิราไกล
แสนอยากเท่าไรๆ                                       บ คิดอยากรำบากกาย
               ตรากทนระคนทุกข์                      ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย                                     จนได้รอดเป็นกายา
               เปรียบหนักชนกคุณ                     ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา                                        ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
               เหลือที่จะแทนทด                        จะสนองคุณานันต์
แท้บูชไนยอัน                                             อุดมเลิศประเสริฐคุณ
                                   

       2. นมัสการอาจาริยคุณ


                    อนึ่งข้าคำนับน้อม                             ต่อพระครูผู้การุณ

      โอบเอื้อและเจือจุน                                          อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์

                    ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ                       ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน

     ชี้แจงและแบ่งปัน                                            ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน

                    จิตมากด้วยเมตตา                           และกรุณา บ เอนเอียง

     เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์                              ให้ฉลาดและแหลมคม

                    ขจัดเขลาบรรเทาโม-                        หะจิตมืดที่งุนงม

     กังขา ณ อารมณ์                                            ก็สว่างกระจ่างใจ

                    คุณส่วนนี้ควรนับ                              ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร

     ควรนึกและตรึกใน                                           จิตน้อมนิยมชม

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/316882
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/316882

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘
มหาชาติหรือมหาเวศสันดรชาดก
ความเป็นมา
  พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมี

นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และร้อยแก้ว รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับ

มงคลสูตรคำฉันท์

บทที่๗ มงคลสูตรคำฉันท์



    พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาเกี่ยวกับมงคลสูงสุด ไว้ ๓๘ ประการ  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทประพันธ์ร้อยกรองประเภทคำฉันท์  มีลักษณะเด่นทางวรรณศิลป์ ใช้ถ้อยคำภาษาง่ายๆ แม้จะมีศัพท์บาลีอยู่บ้าง ก่อนนอนคืนนี้น้อมสิ่งดีใส่กมล  สวดสูตรมงคลไม่อับจนในชีวา ู้ทรงพระราชนิพนธ์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ.2466 ฉันทลักษณ์  แต่งเป็นคำฉันท์ คำฉันท์ ประกอบด้วย กาพย์ฉบังและอินทร
วิเชียรฉันท์ในเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ จะแทรกคาถาบาลี

ทุกข์ของชาวบ้านในบทกวี

    หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ความเป็นมา
             บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติผู้แต่ง

หัวใจชายหนุ่ม

บทที่๕
เรื่องหัวใจชายหนุ่ม

        หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์  ดุสิตสมิตเมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน

นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนรินทร์คำโคลง
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
ความเป็นมา
      นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ

      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า “นิราศ” หมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ

นิทานเวตาล เรื่องที่ 10

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
เรื่อง นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)
ความเป็นมา
                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461